4.1 สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

บทที่ 4 สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แต่การพึ่งพิงอาศัยประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ล้วนทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง เกิดเป็นวิกฤตการณ์ทั้งทางด้านบรรยากาศ ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า และพลังงานขึ้นทั่วโลก การศึกษาสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์วิกฤตการณ์ เพื่อเป็นฐานความรู้ในการสร้างความตระหนักและช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรชาติต่อไป

      4.1  สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

       ปัจจุบันสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า แร่พลังงาน เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผมกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมาก

        1.1  ที่ดินและทรัพยากรดิน

                ประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 320,696,886 ไร่ หรือ 513,115 ตารางกิโลเมตร พื้นที่เป็นทิวเขา เชิงเขา หุบเขา ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาพเหนือและภาคตะวันตกของประเทศส่วนในภาคใต้จะมีพื้นที่เป็นเขาสูงแล้วลาดไปสู่ชายฝั่งทั้งในด้านของอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในภาคตะวันออกมีทิวเขาสลับเนินเขาและที่ราบโดยรอบทิวเขาส่วนบริเวณภาคกลาง นั้นมีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีภูเขาโดดอยู่ประปราย โดยเฉพาะในภาคกลางตอนบน

             1. การใช้ประโยชน์ของดิน  แบ่งออกได้ ดังนี้

            2.  การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน

           เนื่องจากที่ดินไม่สามารถเพิ่มได้ ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ขอการใช้พื้นดินอย่างหนึ่งจะมีผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินอีกอย่างหนึ่ง

มูลเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท มีดังนี้

  1. ความต้องการเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรม เนื่องจากความต้องการก้านของผลผลิตเพิ่มมาขึ้นและแสวงหาที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ต้องบุกรุกพื้นที่ป่าไม้
  2. การขยายตัวของชุมชนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ เช่น จากที่เคยเป็นพื้นที่เกษตรกรรมก็เปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่การสร้างที่อยู่อาศัย สร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่นถนน ไฟฟ้า แหล่งน้ำ เป็นต้น
  3. พื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ลกลง เนื่องจากการเข้าไปใช้พื้นที่ของทาราชการการบุกรุกเข้าไปทำกิน สร้างที่อยู่อาศัย การปลูกป่าเพื่อขยายพื้นที่ป่าไม้
  4. ความต้องการใช้น้ำมากขึ้น จากการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อนของทุกปีความต้องการพื้นที่มาสร้างที่กักเก็บน้ำจึงเพิ่มขึ้น เช่น สร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ คลองเก็บน้ำ คลองส่งน้ำเพื่อการเกษตรและผลผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

          1.2  ทรัพยากรน้ำ

             น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตทั้งของมนุษย์สัตว์ และพืชในประเทศไทยนอกเหนือจากการใช้น้ำเพื่อการดำรงชีวิตโดยตรงแล้วยังใช้ในการเกษตรกร อุตสาหกรรม คมนาคมผลิตกระแสไฟฟ้า และประเพณีต่างๆ ถือว่าคนไทยวีถีชีวิตที่ผูกพันกับน้ำมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน

              น้ำฝนเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ประเทศไทยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,550 มิลลิเมตร หรือคิดเป็นปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาปีละประมาณ 800,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แล้วกลายไปเป็นน้ำผิวดิน ซึมลงสู่ใต้ดินกลายเป็นน้ำบาดาลและถูกดินดูดซับไว้ อีกส่วนหนึ่งจะถูกพืชดูดไปใช้ นากจากนั้นจะระเหยออยู่ในอากาศโดยน้ำฝนที่ตกในประเทศไทยเกิดจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม

        นอกจากนั้นในระหว่างปลายฤดูฝนมักจะเกิดพายุดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ที่นำฝนมาตกส่วนทำให้ประเทศมีน้ำพอใช้ภายในประเทศ แต่เนื่องจากความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันปริมาณ น้ำมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและเกิดขึ้นในทุกภูมิภาค ทั้งน้ำเสียจากชุมชน อุตสาหกรรม และการเกษตร มีผมให้คุณภาพน้ำในแม่น้ำหลายสายมีคุณภาพน้ำต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการขากแคลนน้ำขึ้นในอนาคต หากไม่มีการบริหารจัดการน้ำที่ดี

                แหล่งน้ำที่สำคัญในประเทศไทย ได้แก่ แม่น้ำสายสำคัญในภาคต่างๆ เช่นแม่น้ำปิง แม่น้ำยม น่านในภาคเหนือ แม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง แม่น้ำแม่กลองในภาคตะวันตก เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีเขื่อนในภาคต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ว

        ตารางแสดงปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตามภาค พ.ศ. 2542 – 2546

ภาค

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย พ.ศ.2542 (มม.)

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย พ.ศ.2543 (มม.)

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย พ.ศ.2544 (มม.)

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย พ.ศ.2545 (มม.)

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย พ.ศ.2546 (มม.)

ภาคเหนือ

1,339

1,334.1

1,376.8

1,469

1,073

ภาคกลาง

1,501.7

1,341.4

1,238.7

1,241.2

1,252.4

ภาคตะวันออก

2,501.7

1,998.5

1,488.6

1,665.2

1,757.2

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

1,540.6

1,671.7

1,488.6

1,620.3

1,314.5

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก

2,237.2

2,281.2

2,015.6

1,589.3

1,784.9

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก

3,026.0

2,808.8

2,958.9

2,361.2

2,689.6

ทั่วราชอาณาจักร

1,829.6

1,813.0

1,707.3

1,607.9

1,525.9

ที่มา : กรมอุตอนิยมวิทยากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

                        1. การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำน้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบของร่างกายส่วนใหญ่ และองค์ประกอบที่สำคัญของระบบนิเวศด้วย นอกจากนี้ ทรัพยากรน้ำยังมีประโยชน์ต่อประชาชนคนไทย ดังนี้

                       1. ใช้ในการอุปโภคบริโภค เช่น ใช้เพื่อการดื่ม ชำระล้างทำความสะอาด เป็นต้น

                      2.  ใช้ในการเพาะปลูก เช่น ใช้ในการทำนา ทำสวน ทำไร่ ปลูกผัก เป็นต้น

                      3. ใช้ในภาคอุตสาหกรรม เช่น ใช้เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ ใช้ในการระบายความร้อนให้กับเครื่องจักร ใช้ในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ เป็นต้น

                   4. ใช้ในการผลิตน้ำประปาและการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ ทั้งไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

                    5.  ใช้ในการคมนาคมขนส่ง แม้ว่าปัจจุบันการคมนาคมทางน้ำจะลดลงมาแล้วแต่ยังมีบางชุมชนยังคงใช้ในการเดินทางและการขนส่งทางน้ำอยู่ โดยเฉพาะการขนส่งระหว่างประเทศ เช่น แม่น้ำโขง เป็นต้น

                  6.  ใช้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แหล่งน้ำนอกจากจะเป็นแหละเพาะพันธุ์สัตว์น้ำแล้วยังใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์ย้ำเพื่อสร้างรายได้

                    7.    ใช้ในด้านของการนันทนาการ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ และการเล่นกีฬา เช่นการแข่งขันกีฬาทางน้ำ ใช้เป็นที่พักผ่อนทางชายหาด

                    2.   สถานการณ์ทางน้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีความแปรปรวนมากขึ้น ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค ในภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมมีมากขึ้น โดยเฉพาะในฤดูแล้งมักจะมีความต้องการใช้น้ำในด้านต่างๆ มากกว่าปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ ถึงแม้ว่าทรัพยากรน้ำจะเป็นทรัพยากรหมุนเวียน แต่ประเทศไทยไม่สามารถสร้างแหล่งกักเก็บน้ำได้เพียงพอ ดังนั้น จึงควรใช้น้ำอย่างประหยัด

1.3 ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

        ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของมนุษย์ เนื่องจากเป็นแหล่งอาหาร ยารักษาโลกและยังสามารถนำมาสร้างเป็นที่อยู่อาศัย อุปกรณ์เครื่องใช้อีกด้วย ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคของโลกที่อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยป่าไม้ ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้อยู่ถึง 171 ล้านไร่ (ร้อยละ 53 ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด 320 ล้านไร่) กระทั่งจากรายงานของกรมป่าไม้ใน พ.ศ. 2551 พื้นที่ป่าไม้ลดลงเหลือ 99.15 ล้านไร่ เท่านั้นและการลดลงของพื้นที่ป่าไม้นั้น ยังส่งผงกระทบต่อการลดลงของจำนวนสัตว์ป่าอีกด้วย

        จากนั้นนโยบายเพิ่มปริมาณป่าไม้ด้วยการเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์และส่งเสริมการปลูกป่า อีกทั้งการประกาศปิดป่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2532 เป็นต้นมาส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้มีปริมาณเพิ่มขึ้น แต่การลักลอบตัดไม้และล่าสัตว์ก็ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

ตารางแสดงชนิดของป่าไม้ในประเทศไทย

ชนิด

บริเวณที่พบ

พืชพรรณธรรมชาติ

ป่าดิบชื้น บริเวณฝนตกชุก ภาคใต้และภาคตะวันออก ยาง ตะเคียง ปาล์ม หวาย ไผ่ เถาวัลย์
ป่าดิบแล้ง ทุกภาคของประเทศ มะค่าโมง ตะเคียงหิน ปาล์ม หวาย ขิง ข่า
ป่าดินเขา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม้วงศ์ก่อ สน สามพันปี พญาไม้ อบเชย
ป่าสน ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สน พลวง เต็ง รัง
ป่าชายเลน บริเวณชายทะเลที่เป็นโคลน คือ ชายฝั่งอ่าวไทย ชายฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตก โกงกาง แสม ลำพู
ป่าเบญจพรรณ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สัก แดง ประดู่ มะค่าโมง กก ไผ่
ป่าพรุ ริมฝั่งทะเลที่มีน้ำขังและบริเวณปากแม่น้ำในภาคใต้ (โดนเฉพาะจังหวัดนราธิวาส) จิก อินทนิลน้ำ อบเชย หวาย หมากแดง

1.  การใช้ประโยชน์ มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากป่าไม้มาเป็นเวลายาวนาน และได้รับประโยชน์จากป่าไม้ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ดังนี้

       1.  การใช้ไม้เป็นวัสดุก่อสร้างและใช้สอย การใช้ไม้สร้างบ้านเรือน อุปกรณ์ใช้สอย อื่นๆเช่น ตู้ โต๊ะ และเครื่องมือเครื่องครัวใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้นยังรวมถึงการใช้ผลผลิต อื่นๆ จากต้นไม้ เช่น ยางไม้ สีจากเปลือก ราก ใบ เมล็ดของพืช เป็นต้น

   2.  ใช้เป็นอาหารและยารักษาโรค ส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอกและผลได้ใช้เป็นอาหารและยารักษาโรค รวมทั้งยังสกัดเอายางหรือส่วนสำคัญของพืชมาผลิตเป็นยารักษาโรคได้ด้วย

    3.  ใช้เป็นเชื้อเพลิง ต้นไม้ ถูกตัดมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้ม ประกอบอาหารและเป็นเชื้อเพลิงเพื่อกิจการอื่นๆ เช่น ที่พัก เผาไล่แมลง รวมทั้งนำไม้และยางมาเป็นแสงสว่างในเวลากาลคืน

   4.  ช่วยลดโลกร้อน ต้นไม้จะช่วยนำคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมาใช้ และให้ออกซิเจนออกไป จึงช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ นอกจากนั้นต้นไม้ยังให้ความชุ่มชื่นแก่อากาศ จึงมีส่วนช่วยให้มีฝนตกด้วย

  5. ช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ ต้นไม้ช่วยลดชะลอความเร็วของลม และชะลอความเร็วของกระแสน้ำ หากเกิดพายุและน้ำไหลท่วมที่รุนแรง ทั้งยังลดความสูญเสียของหน้าดินและการสูญเสียทรัพยากรจากป่าอื่นๆ จากการไหลของกระแสน้ำได้ด้วย

   6. เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ต้นไม้หรือป่าไม้เป็นที่อยู่หรือบ้านของสัตว์ป่า และยังเป็นอาหารแก่สัตว์ที่อาศัยในป่าด้วย

มนุษย์รู้จักนำสัตว์ป่ามาใช้ประโยชน์ ดังนี้

  1. อาหารและยา เนื้อและอวัยวะส่วนต่างๆ ใช้เป็นอาหาร และอวัยวะ เช่น เลือด เขา หนัง นำมาทำยารักษาโรคหรือยาบำรุงกำลัง
  2. เครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับใช้หนังหรือขนมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม เขา กระดูก ขน หนัง นำมาทำเครื่องประดับ เป็นต้น
  3. สร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศ สัตว์ป่าจะช่วยกำจัดศัตรูพืช เช่น หนอน แมลง หนู ที่ทำลายพืชป่า ทั้งยังกระจายพันธุ์พืชจากการกินเมล็ดพืช แล้วถ่ายมูลไว้ที่อื่นก็จะกระจายพันธุ์พืชต่อไป และมูลของสัตว์ยังช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์ด้วย
  4. สัญญาเตือนภัยธรรมชาติ สัตว์ป่าจะมีสัญชาตญาณรับรู้ภัยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นล้วงหน้า เช่นการส่งเสียงร้อง การอพยพย้ายถิ่นเมื่อจะเกิดภัยธรรมชาติ ทำให้มนุษย์ได้สังเกตและเรียนรู้จากการหนีภัยของสัตว์ นำมาใช้ป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง

             2. สถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตอากาศร้อนชื้น พืชและสัตว์ในประเทศจึงมีความหลากหลาย  สภาพแวดล้อมมีระบบนิเวศ ทีสลับซับซ้อน มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกับระบบนิเวศในภูมิภาคและในโลก ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์นั้น คนไทยรู้จักการใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่ามานาน แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงลานจำนวนมากที่ยังพึ่งพิงการใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าอยู่ 

1.3       แร่และพลังงาน

       ในประเทศไทยได้มีการนำแร่มาใช้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะดีบุก ตะกั่ว เหล็ก ทองแดงและทอง ในปัจจุบันก็ได้มีการนำแร่ต่างๆ มาใช้ ทั้งแร่โลหะ อโลหะ และเชื้อเพลง ดังตาราง

ตารางแสดงชนิดแหล่งแร่และประโยชน์ของแหล่งแร่ในประเทศไทย

ชนิดของแร่

แหล่งผลิตแร่สำคัญ

ประโยชน์

แร่โลหะสำคัญ
ดีบุก (Tin) จังหวัดภูเก็ต พังงา ยะลา เชียงใหม่ กาญจนบุรี และนครศรีธรรมราช ใช้ในการเคลือบโลหะต่างๆ เช่น ฉาบแผ่นเหล็กทำกระป๋องบรรจุอาหาร ใช้ทำอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชุบสังกะสีมุงหลังคา เป็นต้น
ตะกั่ว (Lead) จังหวัดกาญจนบุรี และเลย ใช้ทำขั้วและแผ่นเซลล์แบตเตอรี่ ตะกั่วบัดกรี ท่อน้ำ กระสุนปืน สะพานไฟ เคลือบภาชนะ เป็นต้น
สังกะสี (Zinc) จังหวัดตาก กาญจนบุรี เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน ทำสังกะสีมุงหลังคา เคลือบแผ่นเหล็ก กระป๋อง เป็นต้น
เหล็ก (Iron) จังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี นครราชสีมา เลย ประจวบคีรีขันธ์ และนครศรีธรรมราช ใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กกล้า และเหล็กแปรรูป
แมงกานีส (Manganese) จังหวัดเลย เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กกล้า โลหะผสม โลหะเชื่อม ถ่านไฟฉาย เป็นต้น
พลวง (Antimony) จังหวัดกาญจนบุรี ตาก ลำปาง แพร่ และสตูล ใช้ผสมตะกั่วทำแผ่นกริดแบตเตอรี่ ผสมตะกั่วและดีบุกทำตัวพิมพ์ และโลหะผสมบัดกรี หุ้มสายโทรศัพท์ สายขนาดใหญ่ทำหมึกพิมพ์โรเนียว ใช้ในการแพทย์ เป็นต้น
ทองแดง (Copper) จังหวัดฉะเชิงเทรา และเลย ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น สายไฟฟ้า วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องจักรกล เครื่องมือวิทยาศาสตร์โทรเลข
ทังสเตนหรือวุลแฟรม (Tungsten) จังหวัดกาญจนบุรี ตาก และเพชรบุรี ใช้ผสมเหล็กกล้า ทำเครื่องจักรกล ใบมีด ตะไบ ใส้หลอดไฟฟ้า
ทองคำ (Gold) จังหวัดพิจิตร และนราธิวาส ใช้ทำเครื่องประดับ ใช้แทนเงินตรา ใช้เป็นหลักประกันทางการคลัง ทำเครื่องมือวิทยาศาสตร์และทันตกรรม
ยิปซัม (Gypsum) จังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ใช้ทำปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์ ดินสอ แผ่นยิปซัม ปุ๋ย อัดยาง
หินปูน (Limestone) จังหวัดสระบุรี นครศรีธรรมราช เพชรบุรี ราชบุรี และนครศรีธรรมราช ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมฟอกหนัง หินก่อสร้าง อุตสาหกรรมแก้ว สารเคมีผงซักฟอก เป็นต้น
หินดินดาน (Shale) จังหวัดสระบุรี นครราชสีมา นครศรีธรรมราช และสงขลา ใช้ในอุตสาหกรรมรมปูนซีเมนต์เป็นส่วนใหญ่

ชนิดแร่สำคัญ

แหล่งผลิตแร่สำคัญ

ประโยชน์ของแร่

แร่อโลหะสำคัญ
ดินขาว (Kaolin) จังหวัดลำปาง อุตรดิตถ์ ลพบุรี ปราจีนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ระยอง นครศรีธรรมราช ระนอง และนราธิวาส ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา กระเบื้องเคลือบ เครื่องสุขภัณฑ์ เป็นต้น
โดโลไมต์ (Dolomite) จังหวัดแพร่กาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และตรัง ใช้ในการผลิตแมกนีเซียม ซึ่งใช้เป็นวัสดุทนไฟหรือฉนวน ใช้ในอุตสาหกรรมแก้วและกระจก ใช้ปรับสภาพดินในการเกษตรกร
รัตนชาติ (Gemstone) จังหวัดกาญจนบุรี จันทบุรี และตราด ใช้เป็นเครื่องประดับ ใช้ในอุตสาหกรรมการทำนาฬิกาขนาดเล็ก
แร่เชื่อเพลิงและพลังงานสำคัญ
ลิกไนต์ (Lignite) จังหวัดลำปาง เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน ตาก เพชรบุรี เลย และกระบี่ ใช้เป็นเชื้อเพลิงธรรมชาติที่นำมาใช้ทดแทนน้ำมัน
ปิโตรเลียม (Petroleum) แหล่งแม่สูน แหล่งสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น แหล่งดงมูล จังหวัดกาฬสินธุ์แหล่งภูฮ่อม จังหวัดอุดรธานี แหล่งสิริกิติ์ จังหวัดกำแพงเพชร แหล่งปรือกระเทียม แหล่งวัดแตน จังหวัดพิษณุโลก แหล่งบึงหญ้า แหล่งบึงม่วง จังหวัดกำแพงเพชรและสุโขทัย แหล่งวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ และพื้นที่อ่าวไทย กลุ่มแหล่งเอราวัณบรรพต สตูล ปลาทอง กะพง ปลาแดง จักรวาล ฟูนาน ตราด ปะการัง ไพลิน และสุราษฎร์ ใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิง ประกอบด้วยน้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติ และแก๊สธรรมชาติเหลว

        แร่เป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อนำมาใช้แล้วก็จะหมดไปไม่สามารถเกิดขึ้นทดแทนได้อีก นอกจากว่าเมื่อเรานำมาใช้แล้วจะนำไปดัดแปลง ปรับปรุงเพื่อนำไปใช้ได้อีกแต่ในปัจจุบันความต้องการในการใช้ภายในในประเทศมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในระยะที่ประเทศมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจทำให้แร่ที่มีอยู่ขาดแคลน ซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศสำหรับพลังงานซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญทางเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากในช่วงที่ขาดแคลนพลังงานทีการควบคุมปริมาณการผลิตพลังงาน ทำให้สินค้าราคาสูงเพราะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่ใช้พลังงานเป็นเชื่อเพลิง เป็นต้น

พลังงานที่ใช้ในประเทศไทยแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่

  1. พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ มีใช้ในท้องถิ่นที่ห่างไกลและหาเชื้อเพลิงอื่นได้ยาก เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูง พลังงานน้ำใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมีแหล่งผลิตที่สำคัญ เช่น เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก เป็นต้น พลังงานความร้อนใต้พิภพ สามารถนำมาพัฒนาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า แหล่งที่สำคัญ เช่น แหล่งบ้านโป่งนก-โป่งฮ่อม อำเภอสันกำแพง แหล่งบ้านโป่งน้ำร้อน อำเภอบ้านโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น พลังงานชีวมวล เป็นพลังงานที่ได้และสัตว์ เช่น การใช้ฟืนและถ่านการหุงต้มแก๊สชีวภาพ แอลกอฮอล์ น้ำมัน เป็นต้น ซึ่งในอนาคตประเทศไทยสามารถจะพัฒนาเพื่อนำไปใช้ได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีผลผลิตทางการเกษตรซึ่งเป็นต้นกำเนิดของพลังงานชีวมวลอยู่มากมาย
  2.   พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เป้นพลังงานที่เกิดจากการทับถมของพืชและสัตว์ที่อยู่ใต้ผิวโลกนับร้อยล้านปี ซึ่งเป็นพลังงานหลักที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม เป็นต้น
  3. พลังงานไฟฟ้า ในระยะแรกมีการผลิตไฟฟ้าจากปิโตรเลียม ต่อมาพัฒนามาใช้ถ่านหิน พลังงานน้ำ แก๊สธรรมชาติ แสงอาทิตย์ และพลังงานความร้อนใต้พิภพไฟฟ้าทีความสำคัญต่อวิธีการดำเนินชีวิต และไฟฟ้าในระบบใหญ่ที่ผลิตขึ้นได้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งการใช้ภายในอาคารบ้านเรือน ใช้เพื่อการเกษตร อุตสาหกรรม การคมนาคม การแพทย์ เป็นต้น
ข้อความนี้ถูกเขียนใน 4.1 สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น