2.2 ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ของโลก

2.2 ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ของโลก

                การดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งในประเทศไทยและในส่วนต่างๆ  ของโลกจะสัมพันธ์กับปรากฏการณ์อันเกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆ  ของโลกทั้ง 4 ประการ คือ อุทกภาค  ชีวภาค  ธรณีภาค  บรรยากาศ

2.1 ปรากฏการณ์จากบรรยากาศและท้องฟ้า

1) บรรยากาศของโลก  ในท้องฟ้ามีอากาศที่หุ้มห่อโลกอยู่เรียกว่า  บรรยากาศ  ซึ่งประกอบไปด้วยแก๊สชนิดต่างๆ  รวมทั้งไอน้ำและฝุ่นละออง  เมื่อสูงจากบรรยากาศของโลกออกไปจะมีแก๊สและเทห์ฟากฟ้า  คือ  เทหวัตถุ  (ก้อน  หรือชิ้น  หรือส่วนหนึ่งของสสาร  อาจเป็นของแข็ง  ของเหลว หรือแก๊สก็ได้)  ในท้องฟ้าหรืออากาศ  เช่น  ดาวฤกษ์  ดาวเคราะห์  อุกกาบาต  เป็นต้น

บรรยากาศนับเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ  ที่อยู่บนโลกหลายประการที่สำคัญ  เช่น

1.บรรยากาศมีแก๊สออกซิเจนช่วยให้มนุษย์หายใจ  แก๊สคาร์บอนใดออกไซด์ช่วยให้พืชสร้างแป้งและน้ำตาลจากการสังเคราะห์ด้วยแสง  แก๊สที่มีมากที่สุด คือ แก๊สไนโตรเจนร้อยละ 78 รองลงมาคือ  แก๊สออกซิเจน
2.บรรยากาศช่วยกรองรังสีเอกซ์ แกมมา  และอัลตราไวโอเลตที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
3.บรรยากาศทำหน้าที่คล้ายเรือนกระจกช่วยอบความร้อน  ทำให้อุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืนไม่แตกต่างกันมากนัก
4.บรรยากาศเป็นแหล่งสะสมไอน้ำและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรน้ำ

2) ชั้นบรรยากาศของโลก  การกำหนดชั้นบรรยากาศของโลกตามแนวดิ่ง (vertical layers)  จำแนกตามคุณลักษณะอุณหภูมิของอากาศ  ดังนี้

2.1) โทรโพสเฟียร์  (troposphere)  เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ติดผิวโลกและจะสูงขึ้นไปจากผิวโลกประมาณ 8 กิโลเมตรที่ขั้วโลก  หรือประมาณ 16 กิโลเมตรที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร  ลักษณะเด่นของบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์  มีดังนี้
1.อุณหภูมิของกาศจะลดลงตามความสูงของพื้นที่  ในอัตรา 6.4 องศาเซลเซียส  ต่อความสูง 1000 เมตร  เช่น  บนยอดเขาสูงๆ  จะมีอากาศเย็นหรือมีหิมะปกคลุม

2.มีไอน้ำอยู่ในอากาศจึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ  ได้แก่  หมอก เมฆ ฝน ลูกเห็บและหิมะ

3.อากาศมีการเคลื่อนที่ในแนวนอนเรียกว่า ลม ทำให้มวลอากาศเคลื่อนที่จากท้องถิ่นหนึ่งไปยังอีกท้องถิ่นหนึ่ง

4.ที่ระดับโลกขึ้นไป 6 กิโลเมตร อากาศมีการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง เรียกว่า กระแสอากาศ ทำให้ไอน้ำในอากาศก่อรูปร่างเป็นเมฆก้อน  คือ  คิวมูลัส  และคิวมูโลนิมบัสและทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

2.2) สแตรโทสเฟียร์ (starosphere)  เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากแนวสิ้นสุดของชั้นโทรโพสเฟียร์และแนวโทรโพพอส (torpopause) โดยอยู่สูงจากระดับผิวโลกมากกว่า 16 กิโลเมตรขึ้นไป  ลักษณะเด่นของบรรยากาศชั้นสแครโทสเฟียร์ คือ

1.อุณหภูมิของอากาศจะสูงขึ้นตามความสูง
2.ไม่มีไอน้ำเนื่องจากก้อนเมตรจะไม่ลอยสูงขึ้นเกินแนวโทรโพพอสบรรยากาศชั้นนี้จึงไม่มีเมฆและพายุ

3.การเคลื่อนที่ของอากาศมีเฉพาะการเคลื่อนที่ในแนวนอนเพียงอย่างเดียวและประกอบกับท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆจึงเหมาะสำหรับกิจการการบิน

4.ตอนบนของชั้นบรรยากาศจะมีโอโซนอยู่หนาแน่น  เรียกว่า  แนวโอโซน (ozone layer)  บรรยากาศสะสมคลื่นรังสีอัลตราไวโอเลตไว้  อุณหภูมิของอากาศจึงสูงขึ้น

2.3) เมโซสเฟียร์ (mesosphere)  เป็นบรรยากาศชั้นที่อยู่ถัดจากชั้นสแตลโทสเฟียร์ขึ้นไป  อยู่สูงจากระดับผิวโลกประมาณ 50-80 กิโลเมตร  โดยอุณหภูมิของอากาศจะลดลงตามความสูงจนสิ้นสุดที่แนวเมโซพอส

2.4) เทอร์โมสเฟียร์ (thermosphere)  เป็นบรรยากาศชั้นที่อยู่ถัดจากเมโซสเฟียร์ขึ้นไป  ว฿งจะมีอุณหภูมิของอากาศสูงโดยตลอด

3)  อิทธิพลของบรรยากาศที่มีต่อโลก  ในขณะที่โลกหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์นั้น  บรรยากาศที่อยู่รอบโลกจะมีลักษณะเฉพาะที่เปลี่ยนแปลงไปตามอิทฺพลของดวงอาทิตย์และสิ่งแวดล้อมของโลก  ดังนี้

3.1)  การเกิดกลางวันและกลางคืน  เกิดเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของโลกขณะโคจรรอบดวงอาทิตย์  ด้านรับแสงครึ่งหนึ่งของทรงกลมจะสว่าง  ด้านตรงข้ามจะมืด  การที่โลกหมุนจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก  จึงทำให้ตำแหน่งของพื้นที่ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเห็นดวงอาทิตย์ก่อนทางทิศตะวันตก

3.2)  ฤดูกาล  ในขณะที่โลกหมุนรอบดวงตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์นั้น  แกนสมมติของโลกที่เอียงทำมุม ยีสิบสามเศษหนึ่งส่วนสอง องศากับเส้นตั้งฉากของระนาบโคจร  ส่งผลทำให้การรับแสงอาทิตย์ของโลกเปลี่ยนไปในแต่ละวัน

ในวันที่ 21 มีนาคม  ตำแหน่งแสงตั้งฉากของดวงอาทิตย์อยู่ที่เส้นศูนย์สูตรจุดขั้วโลกเหนือกับขั้วโลกใต้จะสว่าง  ดังนั้น  วันที่ 21 มีนาคม  หรือ  วันวสันตวิษุวัต (vernal equinox)  โลกจะมีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากันช่วงละ 12 ชั่วโมง  ถัดจากวันนี้ไปตำแหน่งแสงตั้งฉากของดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ขึ้นไปทางทิศเหนือของกรุงเทพ  ซึ่งตั้งอยู่ที่ละติจูด 13˚45’ เหนือ  ตำแหน่งแสงตั้งฉากของดวงอาทิตย์ตั้งฉากตอนเที่ยงวันประมาณวันที่ 27-28  เมษายน  ตำแหน่งเปลี่ยนไปวันละประมาณ 15 ลิปดา  จนถึงวันที่ 21 มิถุนายน  ตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือสุดที่เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์  ทำให้พื้นที่ตั้งแต่เหนือเส้นศูนย์สูตรไปทางขั้วโลกเหนือ  ซึ่งเรียกว่า  ซีกโลกเหนือ  จะมีเวลาที่เป็นกลางวัน  12  ชั่วโมง  ขณะเดียวกันพื้นที่ที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรลงไป  ที่เรียกว่า  ซีกโลกใต้  จะมีเวลากลางวันสั้นกว่ากลางคืน  ซึ่งจะตรงกันข้ามกับปรากฏการณ์ในซีกโลกเหนือ

วันที่  21 มิถุนายน คือ  วันอุตรายันหรือครีษมายัน  ตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์ที่เคลื่อนขึ้นมาอยู่ ณ เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์นั้น  ทำให้ทุกพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล  มีช่วงการรับแสงจากดวงอาทิตย์ยาวนานที่สุดถึง 24 ชั่วโมง  (ที่ซีกโลกใต้พื้นที่ตั้งแต่เส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิลขั้วโลกใต้จะมืด 24 ชั่วโมง)  ดินแดนที่อยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล  ได้แก่  ประเทศนอร์เวย์  ฟินแลนด์  สวีเดน  ตอนเหนือของสหพันธรัฐรัสเซียและตอนเหนือของเกาะกรีนแลนด์  เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า พระอาทิตเที่ยงคืน หรือดวงอาทิตย์ไม่ลับขอบฟ้า (Midnigth Sun) นับเป็นปรากฏการณ์ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม ได้เป็นอย่างดี

ในวันที่ 21-22 มิถุนายน  พบว่าบริเวณดินแดนประเทศไทย  จะมีช่วงเวลารับแสงอาทิตย์ยาวนานกว่าปกติ  คือ  ดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลา 05.30 น.  และลับขอบฟ้าเวลา 18.25น.  จึงมีเวลาที่เป็นกลางวันถึง 12 ชั่วโมง 55 นาที  ส่วนวันอื่นจนถึงเดือนกรกฎาคม ก็คล้ายกัน

วันที่ 22 กันยายน  คือ  วันศารทวิษุวัต (autumnal equinox)ของดวงอาทิตย์ย้ายลงมาจากวันที่  21 มิถุนายน  วันละ 15 ลิปดาและมาตั้งฉากที่เส้นศูนย์สูตรอีกครั้งหนึ่ง  ทำให้ปรากฏการณ์การณ์ซีกโลกเหนือที่เคยได้รับอาทิตย์ยาวนานค่อยๆ  ลดลงและจะมีช่วงเวลาระหว่างกลางวันกับกลางคืนเท่ากันอีกครั้งในวันนี้  นับจากนี้ต่อไปตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์จะเลื่อนลงไปใต้เส้นศูนย์สูตร  ทำให้ดินแดนทางซีกโลกใต้เริ่มมีช่วงเวลากลางวันยาวขึ้นและเวลาคืนสั้นลง

วันที่ 21 ธันวาคม  คือ  วันทักษิณายันหรือเหมายัน (winter solstice) ตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์ลงไปใต้สุดที่เส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น  ทำให้พื้นที่โลกใต้มีเวลากลางวันยาวที่สุดและที่ทวีปแอนตาร์กติกาจะได้แสงอาทิตย์สั้นที่สุด  จึงเป็นช่วงฤดูหนาว  ส่วนโลกใต้เป็นฤดู  ถัดจากวันที่ 21 ธันวาคม ไป  ตำแหน่งตั้งฉากของดวงอาทิตย์จะขยับขึ้นไปที่เส้นศูนย์สูตรและครบ 1 รอบในวันที่ 21 มีนาคม

ผลจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์  โลกจึงได้รับมุมแสงที่แตกต่างกันไป  ส่งผลให้โลกมีอุรภูมิแตกต่างกันอย่างชัดเจนตามช่วงระยะเวลาต่างๆ ของปี  โดยประเทศในเขตอบอุ่นคือ ละคิจูด 23½  องศาเหนือและใต้  จนถึงเส้นละติจุด 66½ องศาเหนือและใต้  แบ่งฤดูกาลออกเป็น 4 ฤดู คือ ฤดูใบม้ผลิ  ฤดูร้อน  ฤดูใบไม้ร่วง  ฤดูหนาว

4) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ  สภาวะปกติของบรรยากาศจะมีแก๊สชนิดต่างๆ  มีปริมาณไอน้ำและฝุ่นละอองอย่างสมดุล  เมื่อดวงอาทิตย์ส่องแสงและแผ่รังสีความร้อนมาสู่โลก  พลังงานรังสีของดวงอาทิตย์  ประมาณร้อยละ 6 จะแพร่กระจายและทะท้อนกลับก่อนถึงบรรยากาศชั้นเมโซสเฟียร์  อีกร้อยล่ะ 14  จะดูดซึมโดยเมเลกุลต่างๆ  ของแก๊สและฝุ่นละอองในบรรยากาศชั้นเมโซสเฟียร์และสตาร์โทสเฟียร์  ประมาณร้อยละ 80 ที่ผ่านลงมาถึง 5 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 45 จึงลงสู่พื้นกระทบผิวโลก

การที่บรรยกาศสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์กลับจึงทำให้บรรยากาศของโลกไม่ร้อนมากเกืนไป  และการที่บรรยากาศสามารถดูดซึมความร้อนบาวส่วนไว้ช่วยให้เวลากลางคืนที่โลกได้รับแสงอาทิตย์ยังคงมีความอบอุ่นอยู่  ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า  ปรากฏการเรือนกระจก  (greenhouse effect) ซึ่งแก๊สที่ช่วยให้พลังงานรังสีอาทิตย์ที่สะท้อนกลับไม่สามารถทะลุชั้นบรรยากาศออกไปได้เรียกว่า  แก๊สเรือนกระจก  (greenhouse gases) ประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  แก๊สมีเทน  แก๊สออกไซด์ของไนโตรเจน  โอโซน  และไอน้ำ  แต่เมื่อองค์ประกอบของแก๊สในบรรยากาศตามธรรมชาติได้เปลี่ยนแปลงไปจากการกระทำของมนุษย์ อาทิ  การใช้สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน  (CFCs) การใช้พลังงานเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม  การตัดไม้ทำลายป่า  ทำให้ปริมาณแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากจนส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก  ทำให้อุณหภูมิของลกสูงมากขึ้นและภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป  และส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดภัยพิบัติต่อมวลมนุษย์เอง

ความร้อนที่เพิ่มขึ้นจากสาเหตุต่างๆ  ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศทำให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ ดังนี้

4.1) การละลายของธารน้ำแข็งและภูเขาน้ำแข็ง  น้ำแข็งที่ละลายจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นจะส่งผลทำให้ระดับน้ำทะเลและมหาสมุทรสูงขึ้น  นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าในอีก 100 ปีข้างหน้าระดับน้ำในหมาสมุทรจะสูงขึ้นประมาณ 1 เมตร  พื้นที่ชายฝั่งทะเลจะจมน้ำหายไปเพราะน้ำท่วม  โดยเฉพาะประเทศที่มีพื้นที่ลุ่มต่ำมาก  เช่น บังกลาเทศ  มัลดีฟส์  หมู่เกราะโซโลมอน  เป็นต้น

4.2) ปรากฏการณ์ภัยแล้ง  หรือช่วงฝนแล้ง  เกิดจากภาวะของฝนไม่แน่นอน  เช่น  ฝนจะตกหนักในระยะเวลาสั้น  ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ  ปรากฏการร์นี้จะเกิดขึ้นรุนแรงในประเทศแถบทะเลทรายทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา  โดยเฉพาะในเอธิโอเปีย  และซูดาน

4.3) ปรากฏการณ์เอลนีโญ  เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเมื่อกระแสน้ำเย็นเปรูบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีอเมริกาใต้  ถูกกระแสน้ำอุ่นจากศูนย์สูตรไหลเข้ามาแทนที่  ทำให้อุณหภูมิที่ผิวน้ำสูงขึ้น  อันเป็นผลจากการอ่อนกำลังลงของลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิก  ในบางปีลมค้ามีกำลังอ่อนกว่าปกติหรืออาจพัดกลับทิศ  ทำให้กระแสน้ำอุ่นที่อยู่บริเวณแปซิฟิกตะวันตกไหลย้อนกลับไปทางแปซิฟิกตะวันออกแทนกระแสน้ำเย็น  ผลของปรากฏการณ์เอลนิโญทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นบริเวณกว้างไปทั่วโลก  เช่น  บริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ทวีปออสเตรเลียที่เคยมีฝนตกชุกกลับประสบปัญหาความแห้งแล้ว  มีไฟป่าบ่อยครั้ง  ทวีปอเมริกาเหนือในช่วงฤดูหนาวอากาศอบอุ่นกว่าปกติ  และบางพื้นที่กลับมีฝนตกหนักจนเกิดอุทกภัย  หรือบริเวณแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ประสบภัยแล้วยาวนานมากขึ้น  ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างมาก

4.4) ปรากฏการณ์ลานิญา  เป็นปรากฏการณ์ที่ผิวน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกแถบเส้นศูนย์สูตรเย็นลง  ปรากฏการณ์ลานิญาส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ที่ตรงข้ามกันกับปรากฏการณ์เอลนีโญ  ทำให้ออสเตรเลีย  อินโดนีเซีย  และฟิลิปินส์  มีฝนตกหนักมากขณะที่บริเวณแปซิฟิกตะวันออกช่วงฤดูฝนกลับมีฝนน้อยและเกิดความแล้งยาวนาน  นอกจากจากนี้ส่งผลต่อบริเวณพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกไป  โดยพบว่าแอฟริกาใต้มีแนวโน้มที่จะมีฝนตกหนักและเสี่ยงต่ออุทกภัยมากขึ้น  ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาจะแห้งแล้งกว่าปกติในช่วงปลายฤดูร้อน  แต่บางพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออกกลับมีฝนมากกว่าปกติในช่วงฤดูหนาว  หรือในช่วงฤดูหนาวของประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ  เป็นต้น

4.5) ปรากฏการณ์พายุหมุน  คือ  บริเวณความกดอากาศต่ำที่มีกระแสอากาศหมุนเวียนเข้าหาความกดดันในแนวทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ  และตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้  โดยมีการเรียกชื่อพายุหมุนแตกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิดและตามความเร็ว

4.6) ปรากฏการณ์ไฟป่า (forest fire)  ตามปกติในฤดูแล้งมักจะเกิดไฟป่าขึ้นเองตามธรรมชาติเสมอ  เช่น  จากฟ้าผ่าหรือต้นไม้เสียดสีกัน  เป็นต้น  แต่ในปัจจุบันมีไฟป่าที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์  เช่น  การจุดไฟเผาเศษพืช  เพื่อขจัดความรกรุงรังและเพื่อให้พืชแตกใบอ่อนขึ้นมาใหม่หลังจากไฟไหม้ไปแล้ว  โดยหวังจะล่าสัตว์ที่ออกมากินหญ้าอ่อนที่ระบัดใบขึ้นมาใหม่อีกด้วย  การเผาป่าเช่นนี้บ่อยครั้งไม่สามารถควบคุมได้จึงต้องสูญเสียพื้นที่ป่าไม้  สัตว์ป่า  สังคมพืช  แมลง  และแหล่งอาหารไปอย่างไม่คุ้มค่า  ทำให้ภูมิอากาศของท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงไป  นอกจากนี้ในพื้นที่หุบเขาจะมีกระแสลมหมุนเวียน  ทำให้เกิดหมอกควันที่เป็นพิษต่อสุขภาพของประชาชนและมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวอีกด้วย

4.7)  พื้นที่อับฝน (rainshadow)  เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากภูเขาสูงทอดแนวขวางกั้นทิศทางของลมฝน  จึงมำให้ด้วนต้นลมมีฝนตกชุกกว่าด้านปลายลม  เมื่อไอน้ำถูกลมประจำพัดเข้าหาฝั่งและยกระดับขึ้นตามความสูงของภูมิประเทศ  ทำให้อุณหภูมิลดลงและรวมตัวเป็นก้อนเมฆ  เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงถึงจุดกลั่นตัวจะคลายความร้อนแฝงของการกลั่นตัวจึงมีฝนตกลงด้านต้นลม  ส่วนด้านปลายลมอุณหภูมิจากความร้อนแฝงและเมฆจะจมตัวลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นไอน้ำจะระเหยขึ้นไปในบรรยากาศจึงไม่มีการกลั่นตัวเป็นฝนมากเหมือนด้านต้นลม  จึงทำให้เกิดด้านปลายลมกลายเป็นพื้นที่อับฝนที่มีอากาศแห้งและอุณหภูมิสูง  บริเวณที่ปรากฏลักษณะดังนี้  เช่น  บริเวณที่ราบสูงปาตาโกเนียทางใต้ของทวีปอเมริกาใต้  ที่มีทิวเขาแอนดีสทอดแนวขวางกั้นทิศทางลมและความชื้นที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิกไว้  ส่วนในประเทศไทย  บริเวณที่ราบภาคกลางแถบจังหวัดกำแพงเพชร  พิษณุโลก  นครสวรรค์  อุทัยทาธานี  สุพรรณบุรี  ราชบุรี  นครปฐม  มีทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาตะนาวศรีทอดแนวขวางกั้นทิศทางลมและความชื้นที่พัดมาจากอ่าวเมาะตะมะ  จึงพบว่าด้านนับลมแถบอำเภอทองผาภูมิ  อำเภอสังขละบุรี  จังหวัดกาญจนบุรี  มีฝนตกชุกและมีปริมาณสูงกว่าด้านปลายลมซึ่งเป็นพื้นที่อับฝน

4.8) ปรากฏการณ์อุณหภูมิผกผัน (temperature inversion)  อุณหภูมิผกผันเป็นปรากฏก่ารณ์ที่เกิดขึ้นตรงกันข้ามกับอุณหภูมิปกติในบรรยากาศ  คือ  ปกติในบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์อุณหภูมิปกติในบรรยากาศ  คือ  ปกติในบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงในอัตรา 6.4 องศาเซลเซียสต่อความสูง 1000 เมตร  สภาวะของอากาศเช่นนี้จะทำให้ควันจากโรงงานอุตสาหกรรมลอยขึ้นไปในบรรยากาศ  แต่ในช่วงเวลากลางคืนอุณหภูมิเหนือพื้นดินเย็นกว่าอากาศเบื้องบนเนื่องจากการคายความร้อนของโลกจึงทำให้เกิดปรากฏการณ์อุณหภูมิผกผันขึ้นดังนั้น  ในพื้นที่ย่านอุตสาหกรรมและเมืองใหญ่ที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่างๆ  ควันที่ลอยขึ้นไปในบรรยากาศจะไม่สามารถลอยขึ้นไปได้สูง  เนื่องจากอุณหภูมิของอากาศโดยรอบมีค่าสูงกว่า เรียก แนวผกผัน (inversion layer) ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้จะพบเห็นในช่วงเวลาตอนเช้าและหัวค่ำของฤดูหนาว
5) ปรากฏการณ์บนผิวโลกอันเนื่องจากดวงจันทร์  ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลกและโคจรรอบโลก  โดยดวงจันทร์จะหมุนรอบตัวเองพร้อมกับโคจรรอบโลก  เมื่อโคจรรอบโลกครบ 1 รอบ  จะใช้เวลาเท่ากับการหมุนรอบตัวเอง คือ 27 วัน 8 ชั่วโมง  แต่เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปด้วย  ดังนั้น  ดวงจันทร์จึงใช้เวลาโคจรครบรอบจริงเท่ากับ 29 วัน 6 ชั่วโมง  ซึ่งเรียกว่า เดือนจันทรคติ

ดวงจันทร์ไม่มีแสงสว่างในตัวเองเช่นเดียวกับโลก  แสงที่ส่องมายังโลกจึงเป็นเพียงแสงสะท้อนที่ดวงจันทร์ได้รับจากดวงอาทิตย์  ดังนั้น  คนบนโลกจะเห็นดวงจันทร์  14-15 วันและไม่เห็นอีกเลยประมาณ 14 หรือ 15 วัน  ในรอบ 1 เดือนทางสุริยคติ  ปรากฏการณ์บนผิวโลกอันเนื่องมาจากดวงจันทร์  มีดังนี้

5.1) การเกิดข้างขึ้น-ข้างแรม  การที่ดวงจันทร์หันด้านสว่างเข้าหาดวงอาทิตย์ในขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก  คนบนโลกมีโอกาสเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์มากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละระยะเวลา  เช่น  เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ในแนวเดียวกันกับดวงจันทร์และโลก ณ วันนั้นทุกตำแหน่งบนโลกไม่สามารถมองเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์ได้  ในวันต่อๆ  ไปดวงจันทร์เคลื่อนที่ทำมุมกับโลกไปจากตำแหน่งเดิมวันละประมาณ 12 องศา 30 ลิปดา  คนบนโลกจะเริ่มเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์มากขึ้นเรื่อยๆ  จึงเรียกช่วงนี้ว่า  ข้างขึ้น หรือ เดือนหงาย  เมื่อดวงจันทร์โคจรมาถึงวันขึ้น 8 ค่ำ  อยู่ในตำแหน่งที่เป็นมุมฉากระหว่างดวงอาทิตย์  โลก  และดวงจันทร์  ทำให้คนบนโลกเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์ครึ่งดวง  ถัดไปอีกจนวันขึ้น 15 ค่ำ  ดวงจันทร์เคลื่อนไปอยู่ในทิศตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์  คนบนโลกจึงสามารถเห็นส่วนของดวงจันทร์ได้ทั้งหมดเรียกว่า  ดวงจันทร์เต็มดวง  ถัดจากวันดังกล่าวไป  คนบนโลกจะเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์ลดลงเรื่อยๆเรียกว่า  ข้างแรม  จนเมื่อดวงจันทร์โคจรไปถึงวันวันแรม 8 ค่ำ  อยู่ในตำแหน่งที่เป็นมุมฉากอีกครั้งคนบนโลกจะเห็นส่วนสว่างเหลือเพียงครึ่งดวง  และถัดไปจนถึงแรม 14 ค่ำหรือแรม 15 ค่ำ  คนบนโลกจะไม่เห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์อีกครั้ง  เป็นอันว่าดวงจันทร์ได้โคจรรอบโลกครบ 1 เดือน

5.2) สุริยุปราคา  เกิดขึ้นในเวลากลางวันเมื่อดวงจันทร์โคจรอยู่ในตำแหน่งระหว่างดวงอาทิตย์กับโลกหรือวันแรม 14-15 ค่ำและวันขึ้น 1 ค่ำ  และอยู่ในระนาบเดียวกันดวงจันทร์จะโคจรเข้าบังแสงของดวงอาทิตย์ส่งผลให้เกิดความมืดบางส่วนของพื้นโลกในช่วงเวลาหนึ่ง

5.3) จันทรุปราคา  เกิดขึ้นในเวลากลางคืนเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์  โดยมีโลกอยู่ตรงกลางหรือวันขึ้น  14-15 ค่ำและวันแรม 1 ค่ำ  และอยู่ในระนาบเดียวกัน  เงามืดของโลกที่บดบังดวงอาทิตย์จะตกทอดไปยังดวงจันทร์ที่สุกสว่างในคืนเพ็ญเมื่อดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปจะทำให้ดวงจันทร์มืดลงทีละน้อย

2.2 ปรากฏการณ์จากธรณีภาค

ธรณีภาค (lithosphere) ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งประกอบไปด้วยหินและดินชนิดต่างๆซึ่งห่อโลกอยู่เป็นผิวเปลือกโลก  เป็นพื้นที่ที่มนุษย์ใช้เป็นที่อาศัยอยู่และดำเนินกิจกรรมต่างๆ  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม

เนื่องจากส่วนที่เป็นธรณีภาค  ประกอบด้วย  แผ่นภาคพื้นทวีปกับแผ่นภาคพื้นสมุทรและถูกรองรับด้วยธรณีภาค (asthenosphere) กับส่วนเนื้อโลก (mantle) ที่เป็นอาณาบริเวณที่เป็นหินหนืด (magma) หินหนืดเป็นสารเหลวร้อนมีการเคลื่อนตัวภายในโลกจึงส่งผลให้เปลือกโลกที่เป็นแผ่นภาคพื้นทวีปและแผ่นภาคพื้นสมุทรเคลื่อนที่  ซึ่งเรียกว่า ทวีปเลื่อน  โดยลักษณะการเคลื่อนนั้นมีทั้งลักษณะการแยกออกจากกันและการเลื่อนชนกันหรือมุดเข้าหากันของเปลือกโลก

จากทฤษฎีของนายอัลเฟรด เวเกเนอร์  นักธรณีฟิสิกส์ชาวเยอรมัน  ตั้งสมมติฐานว่าแต่เดิมโลกใบนี้มีแผ่นดินกว้างใหญ่เพียงผืนเดียว  เรียกว่า  พันเจีย (Pangea ; Pangaea)  ส่วนมหาสมุทรทั้งหมดเรียกว่า  พันทาลัสซา (Panthalassa) และ ทะเลเททิส (Tethy Sea) คือ ทะเลที่อยู่ระหว่างทวีปยูเรเซียกับแผ่นทวีปอฟริกา  ซึ่งภายหลังต่อมาผืนแผ่นดินกว้างใหญ่หรือพันเจียนั้นได้แยกออกจากกันกลายเป็นทวีปต่างๆในปัจจุบัน  และทะเลเททิสส่วนใหญ่ถูกปิดจากการเคลื่อนของพื้นทวีป  ส่วนที่หลงเหลืออยู่ของทะเลเททิสให้เห็นในปัจจุบัน  คือ  ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลแคสเปียน

จากการสำรวจพื้นที่ทางตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้กับพื้นที่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา พบว่า  ชนิดของหินและฟอสซิลบริเวณประเทศบราซิลมีลักษณะเช่นเดียวกันกับในประเทศไนจีเรียกาบอง  นอกจากนี้ยังพบว่าเทือกเขาแอตลาสทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกามีลักษณะการเกิดและชนิดของหินเช่นเดียวกับเทียกเขาแอบพาเลเซียทางด้านทิศตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งผลสำรวจเหล่านี้สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนได้เป็นอย่างดี

ท้องทะเลบริเวณทวีปอเมริกาเหนือแยกออกจากทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกาใต้  พื้นท้องทะเลที่เคลื่อนออกจากกัน  ทำให้มวลหินหนืดพุขึ้นมาเย็นตัวใต้น้ำกลายเป็นเทือกเขากลางมหาสมุทร  ซึ่งในปัจจุบันอยู่บริเวณกลางมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย

บริเวณที่เคยเป็นทะเลเททิส  ระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชียพื้นที่จะแคบลงเนื่องจากแผ่นทวีปแอฟริกาเคลื่อนที่ขึ้นทางเหนือตามแนวชนกัน  ส่วนทวีปแอนตาร์กติกถูกแยกไปเป็นแผ่นดินอนุทวีปอินเดียและทวีปออสเตรเลีย

เมื่ออนุทวีปอินเดียเคลื่อนที่ไปชนกับแผ่นทวีปยูเรเซียจึงเกิดทิวเขาหิมาลัย  พบฟอสซิลหอยบนยอดเขา  ส่วนแนวมุดเข้าหากันบริเวณทะเลเมริเตอร์เรเนียนทำให้เกิดภูเขาไฟบริเวณประเทศอิตาลี  และเกิดแนวรอยเลื่อนของหินในบริเวณประเทศตุรกี  อิรัก  อิหร่าน  และอัฟกานิสถาน  ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก  ได้แก่

1)            แผ่นดินไหว (earthquake)  การเกิดแผ่นดินไหวเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก (fault)  หรือการปะทุของภูเขาไฟการสั่นสะเทือนของแผ่นดินอาจสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อย  หรือสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง  จนทำให้สิ่งก่อสร้างฟังทลาย  ดินถล่ม  จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวจะอยู่ในระดับลึก  ส่วนผิวโลกที่อยู่ตรงกับจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว  จะเป็นบริเวณที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด  และความเสียหายจะลดน้อยลงเมื่ออยู่ห่างตำแหน่งดังกล่าวออกไป

แนวแผ่นดินไหวของโลกส่วนที่เป็นขอบของแผ่นธรณีของทวีปต่างๆ ซึ่งวางตัวอยู่บนชั้นหินหนืดที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวขึ้นบ่อยครั้ง  คือประมาณร้อยละ 70 ของการเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลก  และมีความรุนแรงมากที่สุดจะอยู่โดยรอบมหาสมุทรแปซิฟิกหรือที่เรียกว่า  แนววงแหวนไฟแปซิฟิก (The Pacific Ring of Fire) ครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่เทือกเขาแอนดีส ในทวีปอเมริกาใต้ผ่นอเมริกากลาง  เทือกเขาร็อกกีและที่ราบสูงโคลัมเบีย  อะแลสกา  คาบสมุทรคัมซัตคา  หมู่เกาะญี่ปุ่น  หมู่เกาะฟิลิปปิน  หมู่เกาะอินโดนีเซีย  ผ่านลงไปถึงหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ถึงประเทศนิวซีแลนด์  รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 3200 กิโลเมตร  และแนวดังกล่าวเป็นแนวที่มีภูเขาไฟมากที่สุดในโลกด้วยเช่นกัน  แนวแผ่นดินไหวบริเวณอื่นๆ  ได้แก่  แนวเกาะชวาผ่านเกาะสุมาตรา  หมู่เกาะอันดามัน  สหภาพพม่า  แนวเทือกเขาหิมาลัย  เป็นต้น

2) การไหลเวียนของกระแสน้ำมหาสมุทร (ocean currents) มีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอกัน  โดยเกิดจากสาเหตุ  ดังนี้

1.เกิดจากความแตกต่างของระดับน้ำทะเล

2.เกิดจากความหนาแน่นและอุณหภูมิที่แตกต่างกันของทะเลในแต่ละแห่ง

3.เกิดจากแรงผลักของลมประจำฤดูและลมประจำถิ่นที่กระทำต่อผิวหน้าน้ำ

4.เกิดจากการลดระดับและการเพิ่มระดับน้ำทะเลจากปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง

5.เกิดจากผลของแรงสั่นสะเทือนเนื่องจากการเกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟปะทุใต้ทะเล

2.1) กระแสน้ำมหาสมุทรแปซิฟิก  บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้มี  กระแสน้ำเย็นแปรู  เมื่อไหลเข้าใกล้เส้นศูนย์สูตรกระแสน้ำจะอุ่นขึ้นและเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตก  เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร  กระทั่งกระแสน้ำไหลไปถึงทวีปออสเตรเลียจะแยกออกเป็น 2 สาย  คือ สายที่ไหลวกลงทางใต้เส้นศูนย์สูตรผ่านชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย  เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก  ส่วนสายที่ไหลขึ้นไปทางเหนือเส้นศูนย์สูตรสู่ทะเลจีนแล้วไหลเลียบฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น  เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ

ต่อมากระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะจะไหลไปทางตะวันออกจนถึงอ่าวอะแลสกา เรียกว่า กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา  และกระแสน้ำจะค่อยๆ เย็นลงเนื่องจากมีกระแสน้ำเย็นที่ไหลจากช่องแคบเบริงมารวมกัน  มวลน้ำเย็นจะลอยตัวขึ้นเบื้องบนและไหลผ่านชายฝั่งทางทิศตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา  เรียกว่า  กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย  จากนั้นจะไหลลงทางทิศใต้และกระแสน้ำจะอุ่นขึ้นเมื่อเข้าใกล้เส้นศูนย์สูตร

2.2) กระแสน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติก  บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้มี  กระแสน้ำเย็นเบงเกวลา  ไหลเลียบชายฝั่งทางตะวันตกของทวีปแอฟริกาบริเวณประเทศแอฟริกาใต้  นามิเบีย  แลแองโกลา  เมื่อใกล้เส้นศูนย์สูตรและอ่าวกินี กระแสน้ำอุ่นขึ้นและไหลไปทางทิศตะวันตก  เรียกว่า  กระแสน้ำไหลไปถึงทวีปอเมริกาใต้จะแยกออกเป็น 2  สาย คือ  สายที่ไหลวกลงทางใต้เส้นศูนย์สูตรผ่านชายฝั่งประเทศบราซิลและอาร์เจนตินา  เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นบราซิล  ส่วนสายที่ไหลขึ้นไปทางเหนือเส้นศูนย์สูตรเข้าไปในทะเลแคริบเบียน  อ่าวเม็กซิโก  และชายฝั่งทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกาและแคนนาดา เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม

จากนั้นกระแสน้ำจะไหลข้ามมหาสมุทรไปจนถึงคาบสมุทรแกนดิเนเวียและยุโรปตะวันตก  เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ  ขณะที่กระแสน้ำเย็นที่ไหลลงมาจากมหาสมุทรอาร์กติกจะไหลอยู่ลึกใต้กระแสน้ำอุ่น  แถบหมู่เกาะคะแนรี  และเมื่อไหลเข้าใกล้เส้นศูนย์สูตรกระแสน้ำก็จะอุ่นขึ้นแล้วไหลไปตามแนวเส้นศูนย์สูตร

2.3) กระแสน้ำในมหาสมุทรอินเดีย  บริเวณมหาสมุทรอินเดียตอนใต้มีกระแสน้ำเย็นไหลผ่านด้านทิศตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย  เรียกว่า  กระแสน้ำเย็นออสเตรเลียตะวันตก  จากนั้นกระแสน้ำจะไหลไปตามแนวเส้นศูนย์สูตร  เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร  ไหลไปทางทิศตะวันตกจนถึงทวีปแอฟริกาที่เกาะมาดากัสการ์  กระแสจะแยกออกเป็น 2 สาย  คือ สายที่ไหลวกลงทางใต้  เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก  ส่วนสายที่ไหลขึ้นไปเหนือเส้นศูนย์สูตร เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นมรสุม

2.4) กระแสน้ำในมหาสมุทรอาร์กติก  บริเวณมหาสมุทรอาร์กติกจะมีเฉพาะกระแสน้ำเย็น  โดยจะไหลลงไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกในฤดูหนาว  สายหนึ่งไหลผ่านช่องแคบเบริงไปยังชายฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่น  เรียกว่า  กระแสน้ำเย็นโอะยาชิโอ๊ะ  ส่วนอีกสายหนึ่งไหลผ่านช่องแคบเดวิสระหว่างเกาะกรีนแลนด์กับประเทศแคนนาดา  เรียกว่า  กระแสน้ำเย็นแลบราดอร์

3) ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดจากอิทธิพลของกระแสน้ำมหาสมุทร  กระแสน้ำมหาสมุทรมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ  หลายประการดังนี้

3.1) ในช่วงฤดูหนาวของเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่น  กระแสน้ำที่ไหลเลียบชายฝั่งจะทำให้อุณหภูมิของอากาศบริเวณนั้นอุ่นขึ้นกว่าปกติ  ตัวอย่างเช่น  เมื่อกระแสน้ำอุ่นขึ้นกว่าอุณหภุมิของอากาศบริเวณอื่นๆ ที่อยู่ในละติจูดเดียวกัน  ได้แก  บริเวณยุโรปเหนือทะเลจะไม่เป็นน้ำแข็ง  แต่บริเวณเกาะกรีนแลนด์ทะเลจะเป็นน้ำแข็งและมีอากาศหนาวเย็น  เป็นต้น

3.2) กระแสน้ำต่างชนิดกันจะก่อให้เกิดความแตกต่างของภูมิอากาศ  แม้จะไหลผ่านทวีปเดียวกัน  ดังกรณีของทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกาใต้  โดยในละติจูดเดียวกันภูมิอากาศของทางทิศตะวันตกกับทิศตะวันตกกับทิศตะวันออกของทั้งสองทวีปจะแตกต่างกันมาก  คือ  ทิศตะวันตกของทั้งสองทวีปจะมีกระแสน้ำเย็นไหลผ่านส่งผลให้บริเวณชายฝั่งและลึกเข้าไปในแผ่นดินอากาศจะแห้งแล้ง  มีลักษณะเป็นทะเลทราย  เช่น  ทะเลทรายคาลาอารี  บริเวณประเทศบอตสวานาในทวีปแอฟริกาและทะเลทรายอะตากามา  บริเวณประเทศชิลีและเปรูในทวีปอเมริกาใต้  ส่วนทางด้านฝั่งตะวันออกของทั้งสองทวีปจะมีอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนาซึ่งมีความชุ่มชื้นมากกว่า

3.3) บริเวณที่มีมวลน้ำเย็นลอยตัวขึ้นมา  แถบหมู่เกาะคะแนรีทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกาและชายฝั่งของรัฐแคลิฟอร์เนีย  สหรัฐอเมริกา  ส่งผลให้ภายในแผ่นดินมีภูมิอากาศแบบทะเลทรายและกึ่งทะเลทราย

3.4) บริเวณที่กระเสน้ำอุ่นและกระเสน้ำเย็นไหลไปปะทะกัน  เช่น  กระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะปะทะกับกระแสน้ำเย็นโอะยาชิโอะที่บริเวณทะเลญี่ปุ่น  ที่เรียกว่า  คูริลแบงส์  และกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมปะทะกับกระแสน้ำเย็นแลบราดอร์ที่บริเวณทางทิศตะวันออกของเกาะนิวฟันด์แลนด์ของประเทศแคนาดา  ที่เรียกว่า  แกรนด์แบงส์  นอกจากจะทำให้เกิดหมอกจากการเคลื่อนตัวของความชื้นไปบนผิวน้ำที่เย็นจัด  มีชื่อเรียกเฉพาะว่า  หมอกทะเล (sea smoke) แล้ว  บริเวณดังกล่าวยังเป็นแหล่งที่มีแพลงก์ตอนซึ่งเป็นอาหารของปลามาก  ทำให้มีปลาในบริเวณนี้  เป็นประโยชน์ทางด้านการประมงอีกด้วย

4) ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดจากน้ำขึ้น-น้ำลงและน้ำเกิดน้ำตาย  ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์  โลก  และดวงอาทิตย์  ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  ดังนี้

4.1) น้ำขึ้น-น้ำลง  เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ต่างมีแรงดึงดูดที่กระทำต่อมวลน้ำบนโลก  โดยแรงดึงดูดจากดวงจันทร์มากกว่าดวงอาทิตย์  ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลงจึงถือได้ว่าเกิดเนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์  โดยเกิดน้ำขึ้นวันละ 2 ครั้งสลับกับการเกิดน้ำลงวันละ  2  ครั้ง  คือ  เกิดน้ำขึ้นแล้วอีก 6 ชั่วโมงต่อมาจะเกิดน้ำลง  อีก 6 ชั่วโมงต่อมาก็เกิดน้ำขึ้นและอีก 6 ชั่วโมงก็เกิดน้ำลง  เช่นนี้จนครบ 1 วัน  โดยวันต่อไปเวลาที่น้ำขึ้นจะช้าไปจากวันแรกเฉลี่ยประมาร 50 นาที  ทั้งนี้เพราะดวงจันทร์โคจรทำมุมกับโลกไป 12 องศา 30 ลิปดา

4.2) น้ำเกิด-น้ำตาย  โดยน้ำเกิดเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากโลก  ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์เรียงตัวเป็นแนวเดียวกัน  แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เสริมแรงกันพลังดึงดูดจึงมากขึ้น  ส่งผลให้ระดับน้ำขึ้นสูงที่สุดและลงต่ำที่สุดต่างจากระดับทะเลปานกลาง  เกิดในช่วงขึ้น 15 ค่ำ  และวันแรม 14-15 ค่ำ  ส่วนน้ำตาย  เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาเรียงตัวเป็นมุมฉาก  น้ำจึงถูกแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ดูดไปส่วนหนึ่ง  และดวงจันทร์ดูดไปส่วนหนึ่ง  จึงทำให้ระดับน้ำขึ้นและน้ำลงไม่แตกต่างไปจากระดับน้ำทะเลปานกลางมากนัก  ตรงกับช่วงวันขึ้น 8 ค่ำ  และวันแรม 8 ค่ำ

5) ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับแหล่งน้ำจืด  น้ำจืดเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์  สมัยโบราณมนุษย์เลือกตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ที่มีน้ำจืดเพื่อประโยชน์ทั้งในด้านการบริโภคและการอุปโภค  จากการที่มนุษย์ผูกพันกับแหล่งน้ำจืดมาตั้งแต่สมัยโบราณนี้เองทำให้มนุษย์ได้สั่งสมความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์จากแหล่งน้ำจืดมาโดยตลอด  ทั้งการเกิดน้ำท่วม  และการขาดแคลนน้ำจืด  มนุษย์จึงพัฒนาวิธีการป้องกันน้ำท่วมและรู้จักทำระบบการชลประทาน  เพื่อให้มีน้ำจืดใช้ตลอดปีขึ้น

น้ำจืดที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์มีกำเนิดจากหยาดน้ำฟ้าชนิดต่างๆ  ได้แก่  น้ำฝน  หิมะ  ลูกเห็บ  โดยน้ำจืดที่มีสถานะเป็นน้ำแข็ง  เมื่อละลายแล้วน้ำจืดจะแทรกเข้าไปในเนื้อดินซึ่งน้ำจืดในดินจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับคุณลักษณะและชนิดของดิน  ความชื้นในดิน  ชนิดของพืชและบริเวณที่พืชปกคลุมดิน  ความลาดของพื้นผิว  และประเภทหรือลักษณะของฝนที่ตกลงมายังพื้นที่  น้ำจืดในดินจะไหลซึมลงสู่ชั้นใต้ดิน  และสะสมเป็นน้ำใต้ดินต่อไป

โดยมนุษย์นำน้ำมาใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ  เช่น  นำมาอุปโภคบริโภคเป็นน้ำใช้ภายในครัวเรือน  ในโรงงานอุตสาหกรรมและนำมาใช้ในด้านการเกษตร  เป็นต้น

ส่วนน้ำจืดที่เป็นแหล่งน้ำ  เช่น  แม่น้ำ  ลำธาร  ทะเลสาบ  บ่  บึง  สระน้ำ  โดยมนุษย์จะตั้งถิ่นฐานและใช้น้ำจากแม่น้ำมากกว่าแหล่งน้ำจืดผิวดินอื่นๆ  แม่น้ำจึงเปรียบได้ดังนี้  เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตและใช้ในกิจกรรมต่างๆ  คือ  เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง  เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำจืดตามธรรมชาติ และเป็นแหล่งน้ำจืดที่ใช้ประโยชน์ทางด้านการเพราะปลูกและเลี้ยงสัตว์

6) ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับทะเลและมหาสมุทร  มนุษย์มีความสัมพันและใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเค็มมากมายหลายรูปแบบ  ที่สำคัญดังนี้

1.  การคมนาคมขนส่ง  มนุษย์ได้ใช้ทะเลและมหาสมุทรเป็นเส้นทางการเดินเรือทั้งการคมนาคมและการขนส่งมาตั้งแต่สมัยโบราณ  และได้พัฒนาระบบการเดินเรือมาโดยตลอด  จนในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทันสมัยมาก  การขนส่งทางทะเลได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้สามารถบรรทุกน้ำหนักสินค้าได้ปริมาณมาก  และเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าด้วยการขนส่งด้วยพาหนะอื่นๆ  โดยพบว่าเมืองใหญ่ๆของประเทศต่างๆ  อยู่บริเวณใกล้ปากแม่น้ำหรือชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นจุดรับส่งสินค้า  ตัวอย่างเช่น  เมืองช่างไห่ (เซี้ยงไฮ้)  ของประเทศจีน  กรุงโตเกียวและเมืองโอซะกะของประเทศญี่ปุ่น  เมืองนิวยอร์ก  ประเทศสหรัฐอเมริกา

2.  เป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติ  ทะเลเป็นแหล่งที่อยู่ของพืชและสัตว์น้ำเค็มนานาชนิด  ซึ่งมนุษย์นำมาเป็นอาหารและเวชภัณฑ์ต่างๆ

3.  สถานทีเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม  จากความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการประมงและการเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มบางชนิดที่เป็นอาหารที่เป็นเศรษฐกิจของมนุษย์

4.  การทำนาเกลือสมุทร  การใช้ใช้ประโยชน์จากน้ำเค็มที่สำคัญอีกประการหนึ่ง  คือ  การทำนาเกลือสมุทร  โดยประเทศในเขตร้อนชื้นที่มีชายทะเลจะทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจชนิดนี้  แต่ก็ทำได้บางพื้นที่เท่านั้น  เนื่องจากการทำนาเกลือจะต้องทำในพื้นที่ที่มีดินเหนียว  มีช่วงฤดูแล้งยาวนานและแสงอาทิตย์เข้มเท่านั้น  เช่น  จังหวัดเพชรบุรี  สมุทรสงคราม  สมุทรสาครของประเทศไทย  เป็นต้น

5.  สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ  บริเวณชายฝั่งทะเลที่สวยงาม  น้ำทะเลที่อุ่นและสะอาด  จะเป็นสถานที่ตากอากาศและพักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญของมนุษย์  ดังนั้น  ประเทศที่มีชายหาดที่สวยงาม  จึงสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี

2.4 ปรากฏการณ์จากชีวภาค

ชีวภาค (Biosphere)  หมายถึง บริเวณของผิวโลก รวมทั้งในบรรยากาศและใต้ดินที่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นทั้งที่มีชีวิตอยู่และตายไปแล้ว ได้แก่ พืช สัตว์ มนุษย์ โดยพื้นที่หรือถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กันและมีการปรับปรุงตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ ทั้งในด้านบรรยากาศ ธรณีภาค และอุทกภาค

1) ปรากฏการณ์ทางชีวภาคของพืช ที่สำคัญ มีดังนี้

1.1) ลักษณะทางกายภาพของพืช พืชมีองค์ประกอบทางชีวภาพเฉพาะที่มีความแตกต่าง สามารถเห็นได้ชัด

เช่น ขนาดและความสูงของลำต้น  ประเภทไม้ยืนต้น  ไม้ล้มลุก  ไม้เถา  ไม้เกาะหรือกาฝาก  การแผ่ร่มเงา  ลักษณะของขนาดของใบ รูปร่าง  เช่น  พืชในเขตแห้งแล้งจะมีใบมัน  เป็นต้น

                 1.2) การกระจายของพืชพรรณธรรมชาติในโลก การกระจายของพืชพรรณ จำแนกตามสภาพแวดล้อมแบ่งได้               3 ประเภทตามชีววัฏจักร คือ

(1) พืชที่เจริญเติบโตได้ในน้ำเค็ม  เช่น  สาหร่าย  หญ้าทะเล  ซึ่งสามารถสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างอาหารได้  ส่วนบริเวณชายฝั่งทะเลและแนวรอยต่อระหว่างน้ำจืดที่ไหลออกมาจากแผ่นดินกับน้ำทะเลที่เรียกว่า  น้ำกร่อย  จะมีพรรณไม้หลายชนิด  เช่น  ไม้โกงกาง  ไม้แสม  ไม้ตะบูน  ไม้ลำพู  ต้นจาก เป็นต้น  และเนื่องจากพรรณไม้เหล่านี้มักเจริญเติบโตบริเวณหาดเลนของปากแม่น้ำจึงเรียกบริเวณนี้ว่า  “ป่าชายเลน” เป็นสถานที่อนุบาลสัตว์น้ำและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ นอกจากนี้ป่าชายเลนยังทำหน้าที่เป็นแนวยึดดินไม่ให้พังทลายจากกระแสน้ำ คลื่นและลมที่จะทำความเสียหายแก่ภายในแผ่นดิน

(2) พืชที่เจริญเติบโตได้ในน้ำจืด  บริเวณชายตลิ่งของแหล่งน้ำจืดและในพื้นที่น้ำจืดจะมีพืชหลายชนิดที่เจริญเติบโตอยู่  ได้แก่  พืชสาย  คือ  พืชที่มีเหง้าอยู่ในดิน  มีลำต้นเป็นสายขึ้นอยู่ทั้งใต้ระดับน้ำและเหนือระดับน้ำ  พืชที่ลอยไปตามกระแสน้ำ  เช่น  แหน  ผักตบชวา  พืชที่ขึ้นเป็นต้นมีใบยาว  เช่น       ต้นอ้อ  ไม้ยืนต้นที่ขึ้นในบริเวณตลิ่ง  เช่น  ต้นมะกอกน้ำ  เป็นต้น

(3) พืชที่เจริญเติบโตในแผ่นดิน  บริเวณแผ่นดินที่มีพืชขึ้นได้แบ่งออกตามลักษณะของพืชได้ 4 ชนิด  ประกอบด้วย  ป่าไม้  ป่าสลับทุ่งหญ้า  ทุ่งหญ้าและพืชทะเลทราย  โดยพืชชนิดต่างๆ  จะเจริญงอกงามได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ  เช่น  ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี  บริเวณพื้นที่ลาดชันมักจะพบพืชน้อย  บริเวณที่ราบหรือหุบเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์จะมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ และภูมิอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น  ทำให้การเจริญเติบโตของพืชต่างกันด้วย  อาทิ  บริเวณที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นจะพบต้นไม้สูง  ไม่ผลัดใบ  ภูมิอากาศแบบสะวันนาจะพบพืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้ายาวและมีต้นไม้พุ่มปะปนอยู่บ้าง  เป็นต้น

2)  ปรากฏการณ์ทางชีวภาคของสัตว์ สัตว์ชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในโลกมีแหล่งหรือถิ่นที่อยู่หลัก 7 พื้นที่ ดังนี้

2.5 ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศ อุทกภาค ธรณีภาค และชีวภาค ในพื้นที่ต่างๆ ของโลก

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในด้านบรรยากาศ ธรณีภาค อุทกภาค และชีวภาค ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกนั้น  มีสาเหตุการเกิดทั้งจากการกระทำโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวและสินามิ  ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 โดยเกิดจากการที่แผ่นเปลือกโลกอินเดียขยับมุดแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย  บริเวณร่องลึกก้นสมุทรซุนดาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา  ประเทศอินโดนีเซีย  ทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงถึง 9.0 ริกเตอร์และเกิดคลื่นสึนามิตามมา  ส่งผลให้ประเทศที่มีชายฝั่งติดต่อกับมหาสมุทรอินเดียได้รับความเสียหาย  มีผู้เสียชีวิตและสูญหายรวมมากกว่า 200,000 คน ภูมิประเทศแถบชายฝั่งเปลี่ยนแปลงไป โดยชายฝั่งที่มีป่าชายเลนจะได้รับความรุนแรงของคลื่นสึนามิน้อยกว่าชายฝั่งที่เป็นหาดทราย เนื่องจากมีป่าไม้ชายเลนช่วยต้านทานความรุนแรงของคลื่นสินามิไว้บางส่วน

ในด้านปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์  สาเหตุหลักเกิดจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์  ได้แก่  ปิโตรเลียมและถ่านหิน  เพื่อการอุตสาหกรรม  การคมนาคมขนส่ง  จึงส่งผลให้บรรยากาศมีฝุ่นละอองและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันการโค่นทำลายและเผาป่าไม้  เพื่อนำไม้ไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและนำที่ดินไปใช้ทำการเพาะปลูก  ทำให้ปริมาณฝุ่นละอองและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน  ด้วยเหตุนี้เองอุณหภูมิของโลกจึงสูงขึ้น ส่งผลให้สภาวะอากาศแปรปรวน  เกิดความแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง เกิดพายุฝนน้ำท่วม อากาศร้อนจัดและหนาวจัดอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน  ถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปผลกระทบย้อนกลับที่มนุษย์บนโลกได้รับ คือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่เกิดขึ้นมาก่อน เช่น ปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์เอลนีโญและปรากฏการณ์ลานิญา การกัดเซาะชายฝั่งทะเล เป็นต้น

ข้อความนี้ถูกเขียนใน 2.2 ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ของโลก คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น